วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

โครงงานวิชาคอมพิวเตอร์ CAI ช่วยสอน
เรื่อง การทำดอกไม้จากกระดาษสา





 คณะผู้จัดทำ
      นางสาวรัชฎาพร โพธิ์มั่นเลขที่28
         นางสาวอรณิชา  โพธิ์มั่น  เลขที่29
          นางสาวพิมพา มุ่งเหมือย   เลขที่30   
   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่5/4

อาจารย์ที่ปรึกษา
อาจารย์ อนุสรณ์ ฤกษ์บางพลัด

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงงานวิชาคอมพิวเตอร์ CAI ช่วยสอน

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 5/4

ภาคเรียนที่2  ปีการศึกษา2557

กิตติกรรมประกาศ
               โครงงานนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาประวัติและทำดอกไม้ที่ถูกวิธีและที่สำคัญคือแปการเพื่อใช้สำหรับพิธีกรรมต่างๆของคนไทย ซึ่งถือเป็นการช่วยอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยไปในตัว
              และการจัดทำโครงงานครั้งนี้สำเร็จไปได้ดัวยดีเนื่องจากได้คำปรึกษาจาก อาจารย์ อนุสรณ์ ฤกษ์บางพลัด กลุ่มของพวกเราจึงขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้

บทคัดย่อ
                 
               ในปัจจุบันการประดิฐเริ่มนิยมไปพร้อมกับวัฒนธรรมที่เสื่อมถอย เนื่องจากคนในปัจจุบันได้นำเอาวันธรรมตะวันตกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ประจำวันเพื่อเป็นทำเวลาว่างให้เกิดประโยชน์จึงจัดทำโครงงานเล่มนี้ขึ้นเพื่อศึกษาค้นคว้าวิธี การทำดอกไม้ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญทางศาสนาชนิดหนึ่งและกลุ่มของพวกเราได้นำ ริบบิ้นที่มีอยู่ตามร้านค้าทั่วไป มาทำเป็นเหรียญ และกลุ่มของพวกเราได้รวบรวมข้อมูลไว้ในโครงงานเล่มนี้ เพื่อให้บุคคลที่สนใจได้ศึกษาและเป็นแนวทางต่อไป
บทที่1
บทนำ

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
   นวัตกรรมที่มนุษย์สร้างขึ้น ไม่ว่าจะกระด้วยความฉลาดหรือบังเอิญ แล้วผู้ที่ประดิษฐ์สิ่งของ เรามักจะเรียกว่านักประดิษฐ์ (inventor) สิ่งประดิษฐ์คือสิ่งของต่างๆที่เกิดจากความต้องการของมนุษย์เพื่อนใช้ในการแสวงหาประโยชน์ หรือ อำนวยความสะดวกสบายต่าง
สมมุติฐาน
   หวังว่าจะได้รับประโยชน์จากการทำโครงงาน เพื่อนำไปประกอบอาชีพในอนาคต และสามารถประยุกต์การพับเหรียญ

ขอบเขตการศึกษา
   ศึกษาจากเว็บไซต์และสอบถามบุคคลที่รู้เกี่ยวกับการทำดอกไม้

บทที่2       เอกสารที่เกี่ยวข้อง 

กระดาษสา
 เป็นกระดาษชนิดหนึ่ง ที่ทำมาจากต้นกระดาษสาซึ่งต้นปอสาเป็นพืชเส้นใยในตระกูลเดียวกับหม่อนและขนุน มีหลายชื่อแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เช่น ภาคเหนือเรียกปอสา ภาคอีสานเรียก ปอกะสา หรือปอสา ภาคตะวันตกเรียกหมกพี หรือหมอพี ส่วนภาคใต้เรียกปอฝ้าย
เส้นใยปอสาส่วนใหญ่ได้จากเปลือกของลำต้น ใช้เป็นวัตถุดิบคุณภาพดี ทนทานไม่เปื่อยยุ่ย เก็บรักษาได้นาน
บทที่ 3
ขั้นตอนการดำเนินงาน
        

วัสดุอุปกรณ์และขั้นตอนการดำเนินงาน
         วัสดุอุปกรณ์
1.            คอมพิวเตอร์
2.        กระดาษสา
3.            เครื่องปริ้นต์
4.            ปากกา
5.            ลิขวิด

ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน
1.            แบ่งกิจกรรมตามหน้าที่ 
2.            สืบค้นหาข้อมูล
3.            รวบรวมข้อมูล
4.            จัดทำเป็นรูปเล่มที่สวยงาม
5.            จัดทำเป็นโครงงานนำเสนอ

บทที่ 4
ผลการเรียนรู้
       
      จากการศึกษาค้นคว้าและฝึกทำกาลพรึกผลที่ได้คือพวกเราได้เรียนรู้วิธีการทำที่ถูกวิธี และได้กาลพรึกที่แปลกใหม่จากเดิมด้วยวิธีข้างล่างนี้

     ขั้นตอนการทำดอกไม้จากกระดาษสา
การทำดอกไม้จากกระดาษสาในชุดวิชานี้ได้เลือกทำดอกไม้ที่เห็นว่าจะนำไปใช้ในการประดับและตกแต่งผลิตภัณฑ์กระดาษสา หรือจะนำไปใช้ตกแต่งของใช้บางอย่างให้สวยงามตามความเหมาะสมก็ได้ ทำพวงดอกไม้แขวนสำหรับประดับฝาผนัง และนำไปปักแจกัน เป็นต้น ดอกไม้จากกระดาษสาที่นิยมกันหลายชนิด เช่น ดอกมะลิซ้อน ดอกกุหลาบ และดอกกล้วยไม้แคทลียา วิธีการทำดอกไม้จากกระดาษสาแต่ละชนิดมีดังนี้

การทำดอกมะลิซ้อน
ดอกมะลินอกจากจะมีความสวยงามในตัวของมันเองแล้ว ยังใช้เป็นสัญลักษณ์แทนความหมายได้หลายอย่าง อาทิ การแสดงความเคารพบูชา เช่น นำไปบูชาพระ และกราบไหว้ผู้ใหญ่ เป็นตัวแทนวันแม่ นอกจากนี้ ยังเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติของประเทศอินโดนีเซีย เป็นต้น การทำดอกมะลิจากกระดาษสา มีขั้นตอนการทำดังนี้
    วัสดุอุปกรณ์ มีดังนี้
1. กระดาษสาสีขาวชนิดบาง
2. สีเหลือง น้ำเงิน เขียว
3. ลวด เบอร์ 24
4. สีย้อมสีเหลือง น้ำเงิน เขียว
5. กาวลาเท็กซ์
6. เหล็กแหลม

2 วิธีตัดกลีบดอก
ใช้กระดาษลอกลาย คัดลอกกลีบดอกและใบจากตัวอย่างลงบนกระดาษแข็งสีเทา-ขาว แล้วตัดเป็นต้นแบบละอัน แล้วจึงนำไปทาบกับกระดาษสาที่เตรียมไว้สำหรับทำกลีบดอกและใบ ตามรายการดังนี้
จำนวนกลีบดอกและใบที่ใช้
 3. วิธีผสมสี
ผสมสี โดยแยกออกเป็น 2 ถ้วย ๆ หนึ่งเป็นสีโศกอ่อน อีกถ้วยหนึ่งเป็นสีโศกอ่อนมากกว่าถ้วยแรกเกือบจะเป็นสีขาว โดยเติมน้ำลงไป
สีน้ำเงิน (น้อย) + สีเหลือง (มาก) = สีโศก
สีเขียว + สีเหลือง = สีเขียว

4. วิธีระบายสี
ก่อนที่จะลงมือย้อมสีกลีบ ให้จับคู่กลีบดอก ก ข ค ง ให้เป็นกลุ่มตามลำดับ โดยให้วางซ้อนสับหว่างกัน ทั้งนี้เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการแยกกลีบดอกนำไปผึ่งลมให้แห้ง ต่อจากนั้นให้รวบรวมกลีบดอกกลุ่มละประมาณ 6-7 คู่ จุ่มลงไปในถ้วยสีโศกอ่อนมาก ๆ แช่ทิ้งไว้ให้อิ่มตัวสักครู่ แล้วจึงใช้นิ้วบีบให้น้ำออกบ้าง วางเรียงกันบนกระจกจับกันเป็นคู่ ๆ ตามที่จัดเอาไว้ไม่ต้องแยกคู่ วางห่างกันประมาณ 1 เซนติเมตร ทิ้งไว้พอหมาด แล้วนำพู่กันเบอร์ 6 จุ่มสีโศก (เข้ม) ระบายตรงกลางดอกให้เป็นวงกลม สำหรับกลีบเลี้ยงก็ให้ระบายด้วยสีโศกเช่นเดียวกัน ส่วนในให้ระบายด้วยสีเขียวที่เตรียมไว้ ต่อจากนั้นให้นำกลีบดอกที่ย้อมเสร็จแล้วไปผึ่งลมทิ้งไว้ให้แห้ง ห้ามนำไปตากแดดเพราะจะทำให้สีซีดและด่าง

5. วิธีทำใบ
นำใบที่ตากแห้งแล้วมาติดลวดสีเขียวที่ใช้สำหรับดามใบ แล้วใช้ที่รีดรูปใบมีดกรีดตามเส้นลวดที่ดามไว้กรีดตามร่องใบและกรีดเป็นแฉกตามเส้นใบ เป็นการเลียนแบบธรรมชาติ การทำวิธีนี้ใช้ในกรณีที่ไม่มีพิมพ์อัดกลีบกุหลาบ อัดใบ ซึ่งสามารถทำได้ผลใกล้เคียงกัน หรือจะใช้วิธีบิดเป็นเกลียวเช่นเดียวกับการบิดกลีบดอกดังจะได้กล่าวต่อไปก็ได้

6. วิธีบิดกลีบดอก
นำกลีบดอกที่ผึ่งลมแห้งแล้วมาซ้อนกัน 3 กลีบ เจาะรูให้ได้กึ่งกลางกลีบด้วยเหล็กแหลมแล้วจึงพับบิดกลีบดอกให้เป็นเกลียว โดยเริ่มต้นที่ปลายกลีบให้ใช้ปลายเล็บหัวแม่มือจิกลงบนปลายกลีบ แล้วจับกลีบด้านล่างบิดเป็นเกลียวให้แน่นโดยเลื่อนนิ้วมือลงไปทีละน้อย ทำเช่นนี้จนครบทุกกลีบและทุกขนาด จากนั้นให้คลี่กลีบดอกออกเบา ๆ จัดกลีบให้เป็นอุ้งตรงกลางกลีบและปลายบานออกเล็กน้อย แล้วนำไปเข้าดอกใบต่อไป

7. วิธีเข้ากลีบดอก
ตัดลวดที่เตรียมไว้สำหรับทากาวก้านดอกยาว 3-4 เซนติเมตร งอปลายแล้วจุ่มลงไปในกาวพอติด แล้วนำสำลีมาปั้นเป็นก้อนกลมรอบเส้นลวดใช้นิ้วมือแตะกาวเล็กน้อยจับสำลีหมุนเป็นก้อนกลมให้เรียบและแน่น แล้วทากาวโดยรอบนำไปเข้าดอกตูม ดังภาพ

วิธีเข้าดอก
ใช้สำลีปั้นให้กลมกับลวด แล้วเจาะรูกลางกลีบดอกทุกกลีบ แล้วเข้าตามลำดับขนาดกลีบ ดังรูปดอกตูม
สำหรับการเข้าดอกแย้มและดอกบานมีวิธีการเข้าเช่นเดียวกัน คือ ทากาวบนกลีบตูมโดยรอบแล้วนำกลีบที่เตรียมไว้มาติดเข้าให้สับหว่างกันทีละชั้นจนครบทุกกลีบทุกขนาด แล้วเสริมโคนดอกด้วยสำลีแล้วปิดด้วยกลีบเลี้ยง



8. วิธีเข้าช่อ
นำดอกบาน ดอกแย้งและดอกตูมที่ทำเสร็จแล้วมาเข้าช่อกับใบ ให้ทำเหมือนดอกไม้ธรรมชาติ ตกแต่งให้สวยงามเหมาะสำหรับปักแจกันหรือจะทำเป็นช่อใช้เป็นดอกไม้ติดเสื้อก็ได้
ภาคผนวก


บทที่ 5
สรุปผลและอภิปรายผลงานสรุป

  การทำโครงงานนี้ทำให้สมาชิกในกลุ่มช่วยกันสืบค้นหาข้อมูลและปฏิบัติเป็นรูปเล่มโครงงานและทำเป็นเพื่อให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ และนอกจากนี้ยังเป็นการศึกษาวิธีการทำ และลงมือปฏิบัติได้ด้วยตนเอง และทำให้สมาชิกในกลุ่มเกิดความสามัคคีกันมากยิ่งขึ้นด้วย

  อภิปราย
1.สามารถนำเอาโครงงานมาเป็นแบบอย่างในการศึกษาข้อมูลในการทำครั้งต่อไป          
2.ใช้ประโยชน์จากรูปเล่มโครงงานไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม
3.นำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
4. ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ให้กับตนเองและครอบครัว
5.สามารถนำไปประกอบอาชีพได้

ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน
     ในการทำโครงงานเรื่องการทำดอกไม้ในครั้งนี้ ทำให้ได้รู้และศึกษาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มาประยุกต์ใช้และได้รับประโยชน์ ดังนี้
1.  รู้และนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกวิธี
2. ได้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆและนำมาจัดทำเป็นรูปเล่มโครงงาน เพื่อการศึกษาต่อไป
3. นำไปประกอบการเรียนรู้ในวิชาที่เกี่ยวข้อง
4. ได้เรียนรู้และฝึกทักษะการทำดอกไม้
5.สามารถนำความรู้ในการศึกษาการทำดอกไม้ไปใช้ในการประกอบอาชีพได้

วีดีโอ